พ.ศ. ๑๒๒๕ มีนักปราชญ์ ผู้โด่งดังท่านหนึ่งไปประกาศพุทธศาสนาในธิเบตจนมีชื่อเสียงโด่งดัง และมรณภาพที่นั้น ท่านคือพระทีปังกรศรชญาณหรือพระอตีศะ เกืดในวรรณกษัตริย์ โดยพระบิดาเป็นกษัตริย์นามว่ากัลยาณศรี (Kalyanasri) และมารดานามว่าศรีประภาวดี (Sriprabhavati) เกิดเมื่อ พ.ศ.๑๒๒๕ ในเมืองชาฮอร์ แคว้นภคัลปุระ (ปัจจุบันอยู่ในเขนเบงกอลตะวันตก) อินเดียภาคตะวันออก โดยพระบิดามีโอรส ๓ พระองค์คือเจ้าชายปัทมครรภ์ เจ้าชายจันทรครรภ์ (ต่อมาคือพระทีปังกรศรีชญาณ) และเจ้าชายศรีครรภ์
ต่อมาได้เดินทางไปบวชเป็นสามเณรที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์โพธิภัทร โดยไม่ได้บวชที่มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ทั้งที่ตั้งอยู่รัฐเบงกอลและไม่ไกลจากพระราชวังของพระองค์ ทั้งนี้เพราะต้องการลดความมานะถือตัวลง เมื่อบวชแล้วจึงได้ฉายาว่า พระทีปังกรศรีชญาณ
ในสมัยนี้นิกายมนตรยานกำลังเจริญรุ่งเรือง ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ สิทธะคนหนึ่งชื่อว่า พระนโรปะ นักปราชญ์ชื่อังในสมัยนั้น ศิษย์ที่มีชื่อเสียงของสิทธะนโรปามีหลายท่านเช่น พระปรัชญารักษิต กนกศรี และมาณกศรี ต่อมาท่านจึงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิกรมศิลาใกล้บ้าน ท่านเดินทางไปสุมาตราเพื่อศึกษาธรรมกับพระธรรมปาละพระเถระที่มีชื่อเสียงที่นั่น หลังจากอยู่ได้ ๑๒ ปีจึงเดินทางกลับสู่วิกรมศิลา และต่อมาได้รับการอาราธนาไปสู่ธิเบต ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงอย่างสูงสุด และมรณภาพที่นั่นรวมอายุ ๗๓ ปี
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าเทวปาละ ราวพ.ศ.๑๒๔๕ แห่งราชวงศ์ปาละได้ครองราชย์สมบัติต่อจากพระบิดา พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็งเช่นเดียวกับพะรบิดา ต่อมาได้สร้างมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาขึ้น (Vikramasila University) สมัยของพระองค์วัดและสถานศึกษาทางพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากพระราชวงศ์และพุทธบริษัทเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสามแห่งในคือนาลันทา โอทันตบุรี วิกรมศิลา พระองค์สวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๑๒๙๖ รวมเวลาที่ครองราชย์ที่ยาวนาน ๕๑ ปีพ.ศ.๑๒๔๗ พระเจ้าตริสองเดซัน กษัตริย์แห่งธิเบต ได้อาราธนาพระสงฆ์ชาวอินเดียหลายรูปไปฟื้นฟูพุทธศาสนาที่ธิเบต แต่ที่มีชื่อเสียงคือพระอาจารย์ศานตรักษิต แต่ท่านเป็นพระนักวิชาการไม่มีอิทธิฤทธิ์เวทย์มนต์คาถา เมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับศาสนาบอน ศาสนาเจ้าถิ่นที่เต็มไปด้วยเวทย์มนต์ คาถาหมอผี ภูติผีปีศาจจึงเห็นว่าจะสู้ไม่ไหว ผู้ที่จะมาเผยแพร่ได้ต้องมีเวทย์มนต์คาถาเช่นกันจึงจะสู้ได้ จึงเสนอไปยังพระเจ้าตริสองเดซันให้อาราธนาพระปัทมสัมภวะ พระสงฆ์นิกายมนตรยานมาปราบ พระองค์เห็นด้วย จึงได้ส่งคนไปอาราธนาท่านปัทมสัมภวะมาเผยแพร่ธรรมที่ธิเบต ท่านรับคำอาราธนาแล้วเดินทางเข้าไปธิเบต งานของท่านประสบผลสำเร็จอย่างมาก เพราะท่านเป็นพระจอมขมังเวทย์ สามารถปราบปรามพวกพ่อมดหมอผี ศาสนาบอนลงได้ พวกเขาหันกลับมานับถือพุทธศาสนาจำนวนมาก ส่วนภูติผีปีศาจก็หันมาปกป้องพุทธศาสนาแทน ท่านปัทมสัมภวะ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานพุทธศาสนา ให้มั่นคงในธิเบตจนถึงปัจจุบัน แม้พุทธศาสนาจะเข้าไปธิเบตราว พ.ศ. ๑๑๖๓ สมัยพระเจ้าสองสันคัมโปแล้วก็ตาม
ในยุค พ.ศ. ๑๒๕๕ กองทัพอิสลามนำโดยโมฮัมหมัด เบนกาซิม (Muhammad Bin Qazim) ได้เริ่มรุกสู่เอเชียตะวันออกยึดได้หลายเมืองในเอเชีย เช่น ซีเรีย อียิปต์ ต่อมาจึงยกทัพยึดอินเดียภาคเหนือทั้งปัญจาป สินธุ์ คันธาระแล้วปกครองอยู่ยาวนาน ๓๐๐ ปี เมื่อยึดได้แล้ว พุทธศาสนาก็ถูกทำลายลงอย่างมาก เพราะอินเดียตะวันตกมีอารามนับหมื่นและพระสงฆ์นับแสน แต่ทัพมุสลิมไม่อาจรุกเข้าภาคกลางได้ เพราะการด้านทางของกษัตริย์ราชบุตรของอินเดียในภาคกลาง กษัตริย์เหล่านี้ยังสามัคคีกันอย่างดีเพื่อด้านการรุกรานจากกองทัพมุสลิมอาหรับ ในขณะที่ตอนเหนือของอินเดียถูกกองทัพมุสลิมยึดได้อย่างเด็ดขาด และพุทธศาสนาก็ถูกกวาดล้างลง ต่อมากองทัพมุสลิมนำโดย มาหมุด ฆัสนี ได้ยกกองทัพรุกรานอินเดีย ภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น กันยากุพยะมถุรา พาราณสี และกรันชาร์ และยกทัพเข้าโจมตีโสมนาถวิหารของชาวฮินดู ขนทรัพย์สมบัติจากวัดไปเป็นจำนวนมหาศาลพร้อมกันนั้น รูปปั้นพระศิวะและโบสถ์ก็ถูกทำลายลง แม้จะได้รับคำวิงวอนจากนักบวชฮินดูแค่ไหนก็ตาม
ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย เขียนและรวบรวมโดยพระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๙ ,
http://www.dhammathai.org/buddhism/india/index.php,7/กันยายน/2554.
ประวัติศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
จิตติเทพ เว็บบล็อก