วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การเมืองในศาสนา

การเมืองในศาสนา

จิตติเทพ  นาอุดม

บทนำ
ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ และในปัจจุบันการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย มีความก้าวหน้าไปมาก จะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน อันถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน เนื้อหาของรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติใหม่ ๆ ที่จะสร้างความเข็มแข็งและประสิทธิภาพให้แก่ระบบการเมือง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การตรวจสอบอำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระต่างๆ และจากภาคประชาชน เป็นต้น มาตรการเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเมือง แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และแนวความคิดแบบดั้งเดิมไปสู่แนวความคิดแบบประชาธิปไตยแล้ว ประเทศก็จะไม่สามารถพัฒนาไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ซึ่งแนวคิดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การที่จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เข็มแข็งได้นั้น ทางหนึ่ง คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้และมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นนั่นเอง
สถานการณ์ทางการเมือง กระแสการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงการแตกแยกกันทางความคิดของกลุ่มคนบางกลุ่มในสังคม เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่ในขณะนี้ล้วนแล้วแต่สั่นคลอนความเจริญมั่นคงของประเทศ เป็นเรื่องยากที่ประเทศชาติจะรอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้และต้องยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีผลมาจากพฤติกรรมของนักการเมืองเป็นส่วน ประกอบสำคัญ นั่นคือ การขาดจิตสำนึกด้านคุณธรรม และจริยธรรม ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนอย่างแท้จริง ในขณะที่ประชาชน ต่างถามหานักการเมืองที่มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ย่อมส่งผลและเป็นหนทางที่จะช่วยให้ประเทศชาติสามารถผ่านพ้นวิกฤตได้[๑]
จากการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ในประเด็นที่เกี่ยวกับการทุจริตของนักการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาการใช้อำนาจทางกฎหมายอยู่เหนือกรอบคุณธรรม จริยธรรม และนับวันกระแสการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าสังคมของเรากำลังประสบปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมมากมาย โดยเฉพาะในวงการการเมือง จนอาจกล่าวได้ว่า มาตรฐานทางการเมืองกับวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยของประเทศไทย ด้อยในมาตรฐาน นับตั้งแต่ด้อยในความรับผิดชอบ ด้อยในความซื่อสัตย์ สุจริต ความมีจริยธรรม คุณธรรม และคงไม่มีใครปฏิเสธว่า การทุจริตของนักการเมืองทำให้ประชาชนทุกข์ยาก ลำเค็ญขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้คนดีข้าราชการดีๆ ท้อแท้ ไม่ก้าวหน้า ประเทศชาติเกิดความเสียหายทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ว่า สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยแต่ก็เห็นด้วยว่าเป็น ประชาธิปไตยที่ถูกชักจูง จัดฉาก ติดสินบนเพื่อแลกกับผลจากการเลือกตั้ง และเข้าใจว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งและต้องยอมรับว่าในบรรดาอาชีพที่มีอยู่นักการเมือง เป็นอาชีพที่มักไม่ได้รับความเชื่อมั่นหากชนะการเลือกตั้งซึ่งถือว่าเกิดจากประชาชนส่วนใหญ่เลือกมาจะทำอะไรก็ได้โดยอ้างว่าเป็นสิ่งที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนไม่ว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายหรือจริยธรรมแค่ไหนก็ตามทีผู้คนมักกล่าวถึงในทางเสียดสีต่างๆ นานา มาโดยตลอด นับแต่อดีต[๒]
จริยธรรมของนักการเมืองนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นักวิชาการทางการเมืองให้ความสนใจศึกษา และพยายามที่จะผลักดันให้เป็นเงื่อนไขสำคัญอันนักการเมืองจะยึดถือปฏิบัติทั้งนี้ เพราะนักการเมืองถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ปัจจุบันปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง ความเห็นแก่พักแก่พวก เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเมืองที่ยึดเยื่อ ส่งผลกระทบต่อปัญหาบ้านเมืองในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว ความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับรากหญ้า เป็นต้น
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนคือเป้าหมายของการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ดังนั้นความมั่นคงและเสถียรภาพของระบอบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะขึ้นอยู่กับ วามรู้ความสามารถ จริยธรรมและคุณธรรมของนักการเมือง แล้วประการสำคัญยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจ และความศรัทธาของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยในฐานะที่กำลังศึกษา อยู่สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จึงมีความสนใจที่จะศึกษา ทัศนคติของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีต่อจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมือง เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยพร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการที่จะพัฒนาให้นักการเมืองมีทัศนคติและแนวคิดทางการเมืองในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย แล้วน าไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยของประชาชนทั่วไปในวิถีทางที่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อรักษาให้ระบอบการเมืองมีเสถียรภาพต่อไป
จริยธรรมนักการเมือง คือ หลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของนักการเมืองโดยนักการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองซึ่งมีฐานะเป็นผู้ปกครองและผู้ใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมืองจึงต้องมีจริยธรรม คุณธรรมที่สูงส่งกว่าปัจเจกชนทั่วไปที่พึงมี เพราะคุณลักษณะดังกล่าวคือจุดเริ่มต้นของที่มาของความไว้วางใจจากประชาชนนั่นเอง และการใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมืองส่งผลต่ออธิปไตยของรัฐและการอยู่รอดของประเทศ โดยนักวิชาการได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมคุณธรรม สำหรับนักการเมือง หรือผู้ปกครองพึงต้องมีสรุปได้ดังนี้
๑. ปรัชญาเต๋าเหล่าจื๊อ นักปราชญ์ชาวจีน ผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญา เต๋าและ เต๋อโดยคำว่า เต๋อ”(Te) แปลว่า พลังอำนาจ” (Power) หรือคุณธรรม” (Virtue) กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาลนั้น คือเต๋าทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและที่ไม่มีชีวิตตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดจนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ต่างก็ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของเต๋าทั้งสิ้น สำหรับสิ่งที่มีชีวิตนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์พืช หรืออื่นๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเรียกว่า เต๋อเต๋อ จึงเป็นได้ทั้งพลังชีวิตและคุณธรรม สำหรับสัตว์พืช และสิ่งที่มีชีวิตในลักษณ์อื่นๆนั้น เต๋อ คือ พลังชีวิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ สำหรับมนุษย์แล้ว เต๋อ คือ พลังชีวิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่และคือคุณธรรมที่ทำให้ชีวิตนั้นมีค่าโดยสมบูรณ์จริยธรรมอันสูงสุดของมนุษย์ก็คือ เต๋อนั่นเองทั้งเต๋าและเต๋อ ในส่วนที่ลึกที่สุดนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยหลักจริยธรรม (Ethics) ของเหล่าจื้อแบ่งเป็น ๔ ข้อ ได้แก่[๓]
๑) การรู้จักตนเองการรู้จักตนเอง หมายถึง การรู้จักธรรมชาติภายในที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์โดยตรงเหลาจื๊อไม่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ภายนอกเพราะมีแต่จะทำให้คนเราเหินห่างจากความรู้ความเข้าใจในชีวิตของตนและก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นแก่ชาวโลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การรู้จักตนเอง คือการรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิต การรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตก็คือ การรู้จักเป้าหมายอันแท้จริงของชีวิตนั่นเอง
๒) การชนะตนเองเมื่อรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตได้อย่างถ่องแท้และปฏิบัติตามกฎธรรมชาตินั้นอย่างถึงที่สุดแล้วจนกระทั่งตัวเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎธรรมชาตินั้นไม่มีการฝืนใจอีกต่อไป เรียกว่าการชนะตัวเองได้อย่างเด็ดขาดเพราะเมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติก็จะเกิดความรู้สึกที่เต็มเปี่ยมขึ้นมา และเมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง
๓) ความสันโดษเมื่อรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตและปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตนั้น จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวธรรมชาติก็จะเกิดความรู้สึกเต็มเปี่ยมขึ้นมามีแต่ความหยุดความพอ ไม่รู้สึกขาดตกบกพร่องอีกต่อไปนั้น คือ ชีวิตที่มักน้อยสันโดษที่สุดความสันโดษ ก็คือ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่
๔) อุดมคติแห่ง เต๋าจริยธรรมข้อที่สี่ของเหลาจื๊อ คือจงมีเต๋าเป็นอุดมคติการมีเต๋าเป็นอุดมคติ คือ การปฏิบัติตามเต๋า เมื่อปฏิบัติตามเต๋าได้โดยสมบูรณ์ชีวิตก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเต๋า ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเต๋า ก็คือชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือเป้าหมายอันแท้จริงของชีวิต
๒. ปรัชญาขงจื้อ ขงจื้อถือได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งความเชื่อของคนจีนทั้งมวล และถือได้ว่าเขาเป็นคนธรรมดาคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับเป็น เทพถึงกับมีผู้กล่าวว่าถ้าไม่ได้ศึกษาขงจื้อย่อมจะไม่เข้าถึงประวัติศาสตร์จีน[๔]  ปรัชญาการเมืองของขงจื้อมีรากฐานมาจากคุณธรรม ความกตัญญู ความเมตตา คุณงามความดีความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา การสนับสนุนและความไว้วางใจจากประชาชน โดยคำสอนของท่านถือเอา คุณธรรมกับ การเมืองเป็นเรื่องเดียวกันโดยให้เริ่มจากการศึกษาตนเองจากบุคคลศึกษาสิ่งต่างๆอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำพาสู่สันติสุขของสังคม โดยแท้ดั่งคำสอนของขงจื้อว่าด้วยคุณธรรม คุณงามความดี” “ความถูกต้องได้แก่การปกครองยึดมั่นคุณธรรม ดุจดั่งดาวเหนืออยู่ประจำที่มีดาวอื่นๆหมุนรอบด้วยความเคารพนับถือความคิดเสาหลักอีกประการหนึ่งของขงจื๊อคือการศึกษา การจะได้เข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริงมาจาการทุ่มเทตนเองในการขวนขวายใส่ใจศึกษายาวนาน โดยการศึกษาในความหมายของขงจื้อคือการได้ครูดีเป้าหมายของขงจื้อในการผลิตผู้สูงส่งคือให้ความสง่า พูดจาถูกต้องและแสดงถึงคุณธรรมในทุกสิ่ง โดยขงจื้อถือว่าศีลธรรมศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนจะยอมรับสถานการณ์รับรู้ความหมายของภาษาและคุณค่าของสังคม[๕]
๓. ปรัชญาของโสเครตีสโสเครตีส เป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกตะวันตกเป็นนักปรัชญาที่มุ่งเน้นในการแสวงหาและเผยแพร่คุณค่าแห่งปัญญา ปัญญาในความหมายของโสเครตีส คือความรู้แห่งความดีความรู้แห่งความดีจะนำพามนุษย์ไปสู่ชีวิตที่เป็นสุขโดยเฉพาะการมีชีวิตร่วมกันในสังคมมนุษย์จะต้องยึดมั่นในการกระทำความดีเพื่อให้การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นไปโดยสันติสุข ปรัชญาของโสเครตีส จึงเป็นรากฐานสำคัญของความคิดทางการเมืองที่มุ่งมั่นให้มนุษย์แสวงหาความดีอันเป็นคุณธรรมสูงสุดของชีวิตสังคม และด้วยความกล้าหาญในการรักษาอุดมการณ์หลักคุณธรรมที่สำคัญของโสเครตีส ได้แก่[๖]
๑) ปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับความดีคือ รู้ว่าอะไรดีและอะไรไม่ดีความดีสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล และเหตุผลของความดีจะทำให้มนุษย์มีความสุข ดังนั้น ผู้ปกครองกับคุณธรรมแห่งปัญญา คือ ผู้ปกครองที่ดีจะต้องมีคุณธรรมแห่งปัญญา กล่าวคือ ต้องมีความรู้ว่าความดีคืออะไร เมื่อผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดแจ้งในเรื่องความดีผู้ปกครองจะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามวิถีแห่งความดี เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ในขณะเดียวกันจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับความดีอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากผู้นำปราศจากคุณธรรมแห่งปัญญาคือไม่สนใจคุณค่าของความรู้เกี่ยวกับความดีไม่ประพฤติและปฏิบัติตนตามวิถีแห่งความดีกลับมุ่งกระทำการเพื่อประโยชน์และความพอใจแห่งตน ใช้อำนาจเพื่อกดขี่ข่มเหงประชาชน ประชาชนจะตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวและจมปลักอยู่กับความไม่รู้การกระทำชั่วอาจจะแพร่หลายระบาดอย่างกว้างขวาง เพราะความชั่วกระทำง่ายกว่าความดีสังคมจะยิ่งเลวร้ายและสังคมจะหายนะในที่สุด
) ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวหรือไม่ควรกลัวกล่าวคือ มีความกล้าหาญที่จะทำความดีในทุกสถานการณ์แม้ว่าการกระทำความดีนั้นจะเสี่ยงด้วยชีวิตก็กล้าหาญที่จะกระทำ คุณธรรมเป็นความกล้าหาญมิใช่กล้าบ้าบิ่น แต่เป็นความกล้าหาญด้วยเหตุและผลที่จะรักษาความดีและและความถูกต้องของสังคมให้ดำรงอยู่ตลอดไป
) การควบคุมตัวเอง (Temperance) หมายถึง การมีชีวิตตามท านองคลองธรรมแห่งความดีการไม่ปล่อยให้ชีวิตต้องตกเป็นทาสของอารมณ์และความปรารถนาต่างๆ ที่ไม่เหมาะไม่ควร ชีวิตที่มีการควบคุมตนเองจะทำให้เกิดระเบียบในการดำเนินชีวิต จะทำให้เกิดการใช้ปัญญาในการกระทำความดีกล่าวคือ การใช้ปัญญาในการแสวงหาเหตุผลเพื่อรักษาตนให้ดำรงความดีอยู่ตลอดเวลา
) ความยุติธรรม (Justice) หมายถึงการแสดงออกในรูปของการกระทำที่เคารพสิทธิของผู้อื่น และการไม่ยอมกระทำความชั่วต่อผู้อื่น คนที่ยุติธรรมจะต้องไม่ตอบแทนการกระทำที่อยุติธรรมของผู้อื่นด้วยความอยุติธรรม
) การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (Piety) หมายถึง การกระทำความดีและการเคารพยกย่องสิ่งที่ควรยกย่อง หลักสำคัญของศาสนาทุกศาสนาคือการสั่งสอนให้บุคคลกระทำความดีดังนั้นการที่บุคคลกระทำความดีอย่างมั่นคงเป็นการแสดงออกถึงคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาการกระทำความดีมีความหมายครอบคลุมการใช้ปัญญาในการพิจารณาสรรพสิ่งด้วยเหตุด้วยผลและเลือกประพฤติปฏิบัติเฉพาะในสิ่งที่ดี มีความกล้าหาญที่จะกระทำในสิ่งที่ดี มีสติสามารถควบคุมตนเองไม่ให้ตกเป็นทาสของสิ่งที่ไม่ดี
ปรัชญาของอริสโตเติลหลักคุณธรรมด้านจริยธรรมของนักการเมือง ๔ ประการตามแนวคิดของอริสโตเติล มีดังนี้
) ประการแรก ความรอบคอบ (Prudence) หมายถึง การเล็งเห็นหรือหยั่งรู้ได้ง่ายและชัดเจนว่าอะไรควรประพฤติอะไรไม่ควรประพฤติ
) ประการที่สอง ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง การกล้าเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดกล้าเผชิญต่อการใส่ร้ายและการเยาะเย้ยเมื่อมั่นใจว่าตนกระทำความดี
) ประการที่สาม การรู้จักประมาณ (Temperance) หมายถึง การรู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำต่างๆให้อยู่ในขอบเขตอันควรแก่สภาพตามฐานของบุคคลไม่ให้เกินความจำเป็นตามธรรมชาติไม่ให้ก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่น
) ประการที่สี่ ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การให้แก่ทุกคนและแต่ละคนตามความสามารถ (Giving every man his due) ซึ่งจะต้องระลึกว่าเรามีกำลังให้เท่าใด ควรให้แก่ใครเท่าใดและอย่างไร
นอกจากนี้ แมกซ์เวเบอร์ (Max Weber) [๗] กล่าวว่า คุณสมบัติเด่น ๓ ประการที่จะประกอบกันเป็นจริยธรรมสำหรับนักการเมือง ได้แก่
. มีอารมณ์ผูกพัน แน่วแน่ จริงจังต่ออุดมการณ์ (Passion) หมายความว่านักการเมืองจะต้องรู้สึกห่วง กังวล เอาใจใส่ต่อสิ่งที่เขาต้องการจะต่อสู้คำว่า Passion ไม่ใช่อารมณ์ที่เกิดจากความตื่นเต้นที่ไร้ความหมาย (Sterile Excitement) หรือเป็นเพียงเจตคติภายใน (Inner Attitude)เท่านั้น แม้แต่การปฏิวัติที่ปราศจากความรับผิดชอบก็ไม่นับว่าเป็น Passion
. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) จริยธรรมของความรับผิดชอบเป็นตัวที่จะชี้ให้เห็นชัดว่า นักการเมืองมีความมุ่งมั่นที่จำงานเพื่ออุดมการณ์หรือไม่ คนที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาจริงจังต่ออุดมการณ์การจะได้รับการเคารพแต่จะไม่มีใครยอมให้เป็น นักการเมืองถ้าไม่มีความรับผิดชอบเพราะอาจใช้ความรุนแรงจากการมีอำนาจที่ชอบธรรมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะติดตามมา นักการเมืองที่มีลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างยิ่ง
. มีวิจารณญาณ (Judement) หมายถึงความสามารถที่จะรักษาไว้ซึ่งความไม่หวั่นไหวและความสงบ แต่สนองตอบต่อสภาพความเป็นจริง หรืออีกนัยหนึ่งจะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆและคนจากระยะห่าง การขาดวิจารณญาณเป็นบาปหนักอย่างหนึ่งของนักการเมือง เป็นสิ่งที่ทำให้ไร้ประสิทธิภาพทางการเมือง
. พระพุทธศาสนากับแนวคิดด้านจริยธรรมของนักการเมืองพระพุทธศาสนาเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน พระราชาในคติพุทธศาสนาจึงเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่สูงส่งด้วยคุณธรรมความดี และชาติกำเนิด ด้วยเหตุที่พระราชาหรือผู้ปกครองมาจากมนุษย์ด้วยกัน หรือมนุษย์เหมือนกันกับประชาชนทั่วไป จึงได้นำไปสู่ลักษณะเฉพาะของการปกครองแบบพุทธ ที่เรียกว่า ระบอบถือธรรมเป็นสำคัญ (ธรรมาธิปไตย)เพราะเหตุที่ถือธรรมเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการปกครอง ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระปฐมบรมราชานุสรณ์ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม ดังนั้น สังคมเราจึงคุ้นเคยกับธรรมของผู้ปกครอง ที่เรียกว่าทศพิธราชธรรม โดยนักการเมืองในฐานะที่จะต้องเป็นนักปกครองจึงต้องมีธรรมะในเรื่องทศพิธราชธรรม ซึ่งประกอบด้วย
) ทาน การให้ คือ การแบ่งปันช่วยเหลือสละทรัพย์สิ่งของเงินทองเพื่อการกุศลบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๒) ศีลความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริตรักษากิตติคุณให้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อใดที่ใครจะดูแคลน
๓) บริจจาคะการบริจาคเสียสละความสุขสำราญตลอดจนชีวิตของตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๔) อาชชวะความซื่อตรงคือ ซื่อตรง ทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
๕) มัททวะความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เหย่อหยิ่งหยาบคายกึ่งตัว มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่นนวลละมุนละไมให้ได้ความรักภักดีแต่มิขาดยำเกรง
๖) ตปะความทรงเดช คือแผดเผากิเลศตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำย่ำจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ หรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร ท ากิจให้บริบูรณ์
๗) อักโกธะความไม่โกรธคือไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธจนเป็นเหตุให้วินิจฉัยและกระทำการต่างๆผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบเป็นตัวของตัวเอง
๘) อวิหิงสาความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น การเก็บภาษีขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาดไม่หลงระเริงอำนาจขาดความกรุณาหาเหตุเบียดเบียน ลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใดเพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
๙) ขันติความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำกึ่งจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอยกึ่งจะถูกหยั่งถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างใดก็ไม่หมดกำลังใจไม่ยอมละทิ้งกรณีที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
๑๐) อวิโรชนะความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้ายลาภ สักการะสถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรมก็ดีนิติธรรม คือระเบียบแบบแผนหลักการปกครองตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามคือไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป
๑๑) ธรรมะสำหรับนักการเมืองตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุกำหนดธรรมะสำหรับนักการเมืองต้องถือปฏิบัติดังนี้[๘]
๑๑.๑) ธรรมะในส่วนที่เรียกว่าการเมือง มีความหมายอย่างไรก็ต้องเอาความหมายนั้นมา เป็นคุณสมบัติของนักการเมือง เรียกว่าธรรมะสำหรับนักการเมือง เช่น ธรรมะ ที่ตรงตามตัวธรรมสัจจะคือข้อเท็จจริงที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เป็นผาสุกนักการเมืองก็จะต้องมี
๑๑.๒) นักการเมืองต้องเป็นปูชนียบุคคลเสียสละอย่างพระโพธิสัตว์คือ บุคคลที่มีปัญญาไม่เห็นแก่ตัวทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อผู้อื่น เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม
๑๑.๓) นักการเมืองต้องฝากชีวิตจิตใจกับพระเจ้า ให้เป็นคนของพระเจ้า เหมือนกับพระโพธิสัตว์ทุกองค์รับใช้พระอาทิพระพุทธะ คือ การหันมาให้ความสนใจกับพระธรรม ซื่อตรงต่อหน้าที่ หยุดการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ที่ล้วนแล้วแต่เป็นคนของประโยชน์แห่งตัวกู-ของกูเป็นการให้ความสำคัญและแสวงหาประโยชน์ส่วนรวม
๑๑.๔) นักการเมืองต้องเป็นสัตบุรุษ คือ พระอรหันต์ที่ระงับ คือ หมดกิเลสแล้วสัตบุรุษจะต้องตั้งต้นด้วยการเกลียดบาป หรือเกลียดการทุจริตเกลียดความชั่ว ปลงสังขารจึงจะสงบรำงับไปจากความชั่ว ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
๑๑.๕) นักการเมืองจะต้องจัดระบบการเมืองของตน ให้ประกอบด้วยธรรม ระบบการเมือง หมายถึงวิธีการ ที่จะเลือกเอาให้เหมาะสมแก่สถานการณ์ของตน แต่ต้องประกอบไปด้วยธรรม
สรุปได้ว่า การระงับตัญหาหรือความอยากของมนุษย์เป็นไปได้ยาก เพราะอะไรผู้ทุกท่านตอบได้แน่นอน แต่หากเปรียบเทียบกับสัตว์ ก็คือ นักล่า สัตว์มนุษย์กินทุกอย่าง เพราะมนุษย์ก็เป็นนักล่าตัวยงอยู่แล้ว ไม่มีสัตว์ให้ล่าก็กินพืช แม้แต่กินกันเองก็ยังกินเลย หลายศาสนากล่าวถึงแต่ธรรม แต่ธรรมก็คือ ธรรมชาติ ธรรมดา ความจริง ที่มีอยู่แล้ว การที่จะแก้ความอยากไม่มีหรอก การปฏิบัติที่ยากจะนำไปสู่ความเบื่อหน่าย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อ้างนี้ปลดทุกข์ อ้างโน้นปลดทุกข์ พระยังเป็นหนี้เลย

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

ธีรภัทร์   เสรีรังสรรค์.   จริยธรรมของนักการเมือง. นนทบุรี: สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.
              . การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าด้วยเทคนิค
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการใช้ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์
รัปชัน. นนทบุรี: สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.
              . นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชัน สภาพปัญหา
สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์สายธาร, ๒๕๕๓.
พุทธทาสภิกขุ, พุทธทาสภิกขุกับการแนะแนวทางการดำเนินชีวิต, บทความวารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย สมเจตน์  ผิวทองงาม ๒๕๔๙.
สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์, การเมืองอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๘.




[๑] โชติ  มหาชัยฤทธิพรและคนอื่น ๆ.นักการเมืองพันธุ์ใหม่ : ทางรอดประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, ๒๕๕๒), บทคัดย่อ.
[๒] โชติ  มหาชัยฤทธิพรและคนอื่น ๆ, ๒๕๕๒), บทคัดย่อ.
[๓] ธีรภัทร์   เสรีรังสรรค์.  นักการเมืองไทย : จริยธรรมทางการเมือง ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชัน สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน ๒๕๔๙), หน้า  ๒๘-๓๕.
[๔] ธีรภัทร์   เสรีรังสรรค์. การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าด้วย เทคนิคการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการใช้ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน. (นนทบุรี: สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๔๙), หน้า ๓๖.
[๕] ธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์.  นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชัน สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สายธาร ๒๕๕๓,) หน้า ๔๔-๔๕.
[๖] สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์, การเมืองอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ ๕. (กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๘), หน้า ๓๐-๓๘.
[๗] ธีรภัทร์   เสรีรังสรรค์.   จริยธรรมของนักการเมือง. (นนทบุรี: สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙), หน้า ๑๘.
[๘] พุทธทาสภิกขุ, พุทธทาสภิกขุกับการแนะแนวทางการดำเนินชีวิต, บทความวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย สมเจตน์  ผิวทองงาม ๒๕๔๙), หน้า ๒๖๙.

1 ความคิดเห็น:

จิตติเทพ เว็บบล็อก