วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปสรรคการเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดีย

การสูญสลายไปของพุทธศาสนาจากอินเดียนับเป็นเรื่องน่าเศร้าในประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งชาวอินเดียก็ยังงงกับชะตากรรมของศาสนาที่เคยกุมชะตาชีวิตชาวอินเดีย และแนวคำสอนบางอย่างที่แฝงอยู่ในลัทธิฮินดู และเมื่อภัยต่าง ศาสนาที่สำคัญในอดีตของพุทธศาสนาคือมุสลิมก็ไม่มีบทบาทอีกแล้วในอินเดีย หลายคนจึงตั้งความหวังลึก ๆ ว่า พุทธศาสนาน่าจะกลับมารุ่งเรืองอีกในแผ่นดินมาตุภูมิ ดังคำที่ท่านบัณฑิต เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคงไม่เป็นอินเดีย" หรือว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้นับถือศาสนาใด แต่ถ้ามีการบังคับให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งแล้ว ข้าพเจ้าเลือกเอาพุทธศาสนา" ท่านบัณฑิตเนห์รูเองก็ยังหวังให้พุทธศาสนากลับมาอยู่ในใจชาวอินเดียอีก ส่วนดร.เอ็มเบ็ดการ์ กล่าวว่า "ผมจะทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศพุทธศาสนาภายในเวลา ๑๐ ปี" ล้วนเป็นคำพูดที่หวังให้พุทธศาสนาฟื้นคืนมาอีกครั้งหนึ่ง แต่การที่จะทำให้ประเทศที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างมั่งคงแล้ว ให้แปรเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น จึงแทบเป็นไปไม่ได้อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาไม่อาจจะกลับมาเจริญได้คือ
๑. พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของฮินดู
ทฤษฎีนี้ยังฝังรากลึกในคนอินเดียโดยทั่วไปโดยเฉพาะชาวฮินดู แต่ชาวซิกซ์ คริสเตียน หรือมุสลิมหรือเชนกลับไม่เชื่อเรื่องนี้ ความจริงไม่ใช่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั่นที่ฮินดูต้องการรวมหัวรวบหาง ทั้งเชนและซิกซ์เองก็ถูกชาวฮินดูถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของฮินดูเช่นกัน ความเชื่อนี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่จะเผยแพร่พุทธศาสนาในแดนมาตุภูมิ เพราะถ้าถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารองค์หนึ่งของฮินดูแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปนับถือศาสนาพุทธใหม่ เพราะเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
๒. องค์กรสงฆ์อินเดียไม่เข้มแข็ง
เนื่องจากคณะสงฆ์และพุทธศาสนาในอินเดียถูกทำลายไปยาวนาน ถึง ๘๐๐ ปีมากกาว่าอายุของประเทศไทยเราเสียอีก เมื่อฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป การเผยแพร่พุทธศาสนาจะอาศัยสงฆ์อินเดียจึงเป็นเรื่องยาก เพราะหาผู้มีความรู้ได้น้อย ขาดการอุปถัมภ์ บางรูปกิริยามารยาทไม่นำพาต่อการเลื่อมใส ตำราที่สึกษาก็ยังมีน้อย วัดที่จะจำพรรษาก็ยังไม่ค่อยมี จึงเป็นเรื่องลำบาก
๓. ชาวฮินดูต่างยึดมั่นในศาสนา
จุดหมายของการเผยแพร่พุทธศาสนาในอินเดียก็คือต่อชาวฮินดูอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คงไม่สามารถเผยแพร่ต่อชาวมุสลิมหรือเชนได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว ชาวฮินดูไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือเศรษฐีต่างยึดมั่นในคำสอนและประเพณีทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ศาสนาและประเพณีสามารถครอบคลุมวิถีชีวิตของพวกเขาได้อย่างลึกซึ้ง การที่ไปเผยแพร่ให้พวกเขามานับถือศาสนาใหม่ จึงเป็นเรื่องยากพอสมควร
๔. พระสงฆ์เถรวาทไม่งดเนื้อสัตว์
การถือมังสวิรัติคือ เว้นจาการทานเนื้อ เป็นเรื่องที่ชาวอินเดียฮินดูทำอย่างเข็มงวด และพวกเขาตั้งแนวคิดไว้ว่าพระในศาสนาพุทธเอง ก็คงเว้นการฉันเนื้อซึ่งเป็นประเพณีมาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราช แต่เมื่อมาเห็นว่านักบวชในศาสนาพุทธโดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทยังฉันเนื้อหรือบางองค์สูบบุหรี่อยู่ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี ความศรัทธาเลื่อมใสก็คงไม่เกิด การเว้นจากการทานเนื้อและบุหรี่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับที่จะทำศรัทธาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นในสังคมอินเดีย
๕. ขาดผู้สอนที่อดทนทุ่มเทอย่างจริงจัง
ผู้ที่จะเป็นพระธรรมทูต เพื่อเผยแพร่ในอินเดียต้องมีความเสียสละอดทนกับสภาพอากาศที่เลวร้าย อาหารที่ไม่ถูกปาก นิสัยใจคอคนที่แตกต่าง ต้องมีความประพฤติดี ต้องอดทนต่อคำส่อเสียด คำด่าขอางพวกนอกศาสนา นอกจากนั้นยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นบางอย่างได้เหมือนกับบาทหลวงชาวคาทอลิค ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถเปลี่ยนชาวอินเดียมานับถือศาสนาคริสต์เกือบ ๒๒ ล้านคนในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฟื้นฟูพุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้างปัจจุบันการเปลี่ยนศาสนามานับถือพุทธศาสนายังมีอยู่ต่อมาทั้งที่นาคปูร์ เดลี และพุทธคยา เช่น วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๕ ชาวฮินดูวรรณะต่ำก็ได้หันเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาที่พุทธคยาราว ๒๐๐ คน โดยมี ท่านปรัชญาศีล อดีตเลขานุการคณะกรรมการดูแลพระเจดีย์พุทธคยาเป็นผู้ให้ศีลและรับเข้าในศาสนา การเปลี่ยนศาสนาของพวกเขาได้รับการประณามจากชาวฮินดูวรรณต่ำที่เดลลีเปลี่ยนศาสนาโดยขอใช้บริเวณสนามกีฬาเป็นที่ชุมนุม แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจนสุดท้ายต้องอาศัยสวนสาธารณะเป็นต้น การหันเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาของพวกเขาโดยมากเพียงเพื่อหวังยกระดับ ยกฐานะของตนเองให้สูงขึ้นในสังคมอินเดีย เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ถูกรังเกียจเหยียดหยาม และไม่ได้รับการเหลียวแลมานาน แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะเป็นคนชั้นต่ำ แต่ก็เป็นการเพิ่มปริมาณผู้นับถือพุทธศาสนาได้พอสมควร

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย เขียนและรวบรวมโดยพระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๙ ,
http://www.dhammathai.org/buddhism/india/index.php,7/กันยายน/2554.
ประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จิตติเทพ เว็บบล็อก