วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

จดหมายเหตุพระถังซัมจั๋ง (Hiuen Tsang)

พระถังซัมจั๋งนามเดิมว่า เฮี่ยนจัง นามสกุลแช่ตั๋น ชาวเมืองตันหลิวมณฑลฮนาน ราว พ.ศ.๑๑๔๕ เกิดในตระกูลขุนนางเดิม บิดาเป็นนักปราชญ์ฝ่ายขงจื้อสมัยพระจักรพรรดิถังไท่จงฮ่องเต้ ครั้นอายุได้ ๑๓ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรตามพี่ชายที่ได้บรรพชาก่อนหน้านี้แล้ว บวช แล้วเป็นคนเฉลียวฉลาดเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต่อมาเมื่อได้ศึกษาธรรมกับอาจารย์หลายท่านจึงเห็นความไม่ร่องรอยความบกพร่องของคัมภีร์ในสมัยนั้น จึงมีดำริที่จะไปสืบศาสนาและนำคัมภีร์พระไตรปิฎกจากอินเดีย แต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะประเทศเพิ่งเปลี่ยนรัชกาลจึงไม่อนุญาตให้คนออกนอกประเทศ ลุถึงปี พ.ศ.๒๒๗๒ จึงแอบเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเลือกเดินทางเฉพาะกลางคืน ท่านเดินทางผ่านเมืองอู้อี้ เกาเชียง อัคนี คุจี พาลุกา ซุเย แบะจุ้ย สมารคันต์ ตุขารา กปิศะ บามิยัน ตักกศิลา ชาลันธร จนถึงอินเดียเหนือ ได้ผ่านอุปสรรคมากมาย โดยผ่านทะเลทรายโกบีและตามสายทางที่ผ่านมามองเห็นกองกระดูกเรียงราย ท้องฟ้าว่างเปล่า บนฟ้าไม่เห็นแม้กระทั่งวิหกบิน สุดท้ายก็เดินทางมาถึงอินเดียโดยปลอดภัย ท่านรายงานสถานการณ์พุทธศาสนาของอินเดียยุคนั้นอย่างละเอียด โดยสรุปดังนี้
๑.บามิยัน (ปัจจุบันอยู่ห่างกรุงคาบูลไปทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน) ที่นี่มีอาราม ๑๐ แห่ง พระสงฆ์หลายพันรูป ล้วนเป็นฝ่ายโลกุตตรยานสังกัดนิกายหินยานพระสงฆ์ทึ่มีชื่อเสียง ท่านอารยทูตกับอารยเสนมีความรู้ดีในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดีที่เนินขาของนครหลวงมีพระพุทธรูปยืนจำหลัก ด้วยศิลาสูง ๑๕๐ เฉี้ยะ ถัดจากนี้ไปมีอารามและพระปฏิมาจำลักด้วยแก้ว กาจสูง ๑๐๐ เฉี๊ยะ อารามนี้มีพระพุทธไสยาสน์ยาว ๑,๐๐๐ เฉี้ยะ บรรดาพระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือที่ปราณีตสวยงาม นอกนั้นยังมีอารามประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วพระทันตธาตุของพระปัจเจกพุทธะในอดีต
๒.กปิศะ มีอาราม ๑๐๐ แห่ง มีอารามชื่อสาโลกที่พระโอรสพระเจ้าแผ่นดินจีนสร้างถวาย พระราชาเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด ที่นี่มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงคือท่านปรัชญากร , มโนชาญโฆษา, ท่านอารยวรมัน ,คุณภัทรที่เมืองลัมพะมีอาราม ๑๐ แห่งพระสงฆ์ล้วนเป็นนิกายมหายาน
๓.คันธาระ แคว้นนี้มีนักปราชญ์ทางมหายานเกิดมากมายเช่น พระนารายณเทพ อสังคโพธิสัตว์ วสุพันธุโพธิสัตว์ ธรรมตาร มโนรถ ปารศรวเถระที่นี่มีสถานที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธองค์ มีสถูปที่พระเจ้ากนิษกะสร้างสูง ๔๐๐ เฉี๊ยะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานด้านใน
๔.แคว้นอุทยาน ตั้งอยู่ระหว่างฝั่งแม่น้ำศุภวัสดุ แต่ก่อน (พระถังซัมจั๋งจะมา) มีพระสงฆ์ ๑๘,๐๐๐ รูป อาราม ๑,๔๐๐ แห่ง แต่ลดลงเหลือน้อยกว่าเดิม นอกนั้นยังมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่อีกอารามหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปพระเมตไตรย์โพธิสัตว์จำหลักด้วยไม้จันทร์หอม
๕.กัศมีร์ (หรือแคชเมียร์) มีอาราม ๑๐๐ แห่งพระสงฆ์ ๕,๐๐๐ รูปมีสถูปวิจิตรสวยงาม ๔ องค์ พระเจ้าอโศกเป็นองค์สร้างไว้ สถูปทุก ๆ องค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้อารามที่พระถังซัมจั๋งพำนักชื่อหุษก, ชเยนทรพระอาจารย์ผู้เป็นสังฆปาโมกข์อยู่ที่เมืองกัศมีร์นี้ เป็นผู้เคร่งพระธรรมวินัยและเชี่ยชาญในพระไตรปิฏก นอกนั้นยังมีพระเถระที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ พระวิสุทธิสิงห์, พระชินพันธ์, พระสุคตมิตร, พระวศุมิตร,พระสูรยเทพ พระชินตราด เป็นต้น
๖.มถุรา มีสูปบรรจุอัฐิธาตุของพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพระปุณณมันตานีบุตร,พระอุบาลี,พระอานนท์,พระราหุล,พระมัญชุศรีทุกปีพระสงฆ์และคฤหัสถ์จะมาชุมนุมสักการะสถูปต่าง ๆ ที่ตนเองนับถือ เช่นผู้ใฝ่อภิธรรมก็บูชาพระสารีบุตร,ผู้ใฝ่สมาธิบูชาพระโมคคัลลานะ, ผู้ศึกษาพระสูตรบูชาพระปุณณมันตานีบุตร,ผู้สนใจวินัยบูชาพระอุบาลี,สามเณรบูชาพระราหุล นอกนั้นยังมีอารามบนภูเขาที่พระอุปคุปต์เป็นผู้สร้าง
๗.กันยากุพชะ (ลัคเนาว์ เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศปัจจุบันมีอาราม ๑๐๐ แห่ง พระสงฆ์ราว ๑๐,๐๐๐ รูป สังกัดทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน มีสถูป ๒ แห่งที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้น ที่เมืองนี้ท่านพำนัก ณ วัดภัทรวิหาร พระเถระที่มีชื่อเสียงแห่งกันยากุพชะคือ พระวีรเสนที่ชำนาญในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี
๘.อโยธยา มีพระสงฆ์หลายพันรูป มีวัดประมาณ ๑๐๐ แห่ง พระสงฆ์สังกัดทั้งมหายานและหินยาน นอกเมืองยังมีสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระพุทธองค์มาแสดงธรรมที่นี้ ๓ เดือน ที่นี่ท่านถูกโจรปล้น และหวังจะประหารชีวิตท่าน เพื่อสังเวยเจ้าแม่ทุรคาแต่ก็รอดมาได้ด้วยบุญบารมี
๙.โกสัมพี มีอาราม ๑๐ แห่ง พระสงฆ์ราว ๑๐๐ รูป มีวิหารใหญ่สูง ๖๐๐ เฉี้ยะ ประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์ โดยมีพระเจ้าอุเทนเป็นคนสร้างขึ้น นอกจากนั้นยังมีอารามของโฆสิตเศรษฐี และกุกกุฏเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า แต่หักพังไปบ้างแล้ว
๑๐.สาวัจตถี มีอารามหลายร้อยแห่ง พระสงฆ์หลายพันรูป โดยมากสังกันนิกายสัมมิติยะ มีซากสถูปที่ พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายพระพุทธเจ้าซากพระเชตวันมหาวิหาร , เสาอโศก ๒ ต้น มีพระพุทธรูปทอง ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างขึ้น เมื่อคราวอาลัยที่พระพุทธองค์ไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดุสิต
๑๑. กุสินารา มีสถูปที่พระเจ้าอโศกสร้างขึ้นตรงบ้านนายจุนทะที่ได้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายมีพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐลักษณะสมัยมถุรา และสถูปใหญ่สูง ๒๐๐ เฉี๊ยะ ที่สร้างภายในสถานที่ปรินิพพาน ประดิษฐานอยู่ปางปรินิพพาน และเสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก
๑๒.พาราณสี เมืองนี้มีชาวพุทธน้อย โดยมากนับถือลัทธินอกศาสนา มีอารามในเมืองพาราณสีราว ๓๐ แห่ง มีพระสงฆ์ ๓,๐๐๐ รูป สังกัดนิกายสัมมิติยะของหินยาน แต่มีเทวาลัยถึง ๑๐๐ แห่ง มีนักบวชเป็นหมื่นบางคนโกนหัว แต่บางคนขมวดผมเป็นปม พวกเขาชอบเอาขี้เถ้าทาตัวบางพวกเปลือยกาย พวกเขาทำอย่างนี้เพราะต้องการบรรลุธรรม และที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถ) มีพระสงฆ์ ๑,๕๐๐ รูป ล้วนนิกายหินยานมีสถูปของพระเจ้าอโศกสร้าง เสาหินสูงกว่า ๗๐ เฉี๊ยะ
๑๓.แคว้นมคธ มีพระสงฆ์ ๑๐,๐๐๐ รูป โดยมากเป็นฝ่ายมหายาน อารามมีมากกว่า ๕๐ แห่ง ที่เมืองนี้ยังมีเสาอโศก และแผ่นศิลารอยพระพุทธบาทอีกด้วย
๑๔.ที่แคว้นตามรลิปติ (ปากอ่าวเบงกอล สันนิษฐานว่าเป็นเมืองกัลกัตตาปัจจุบัน) มีอาราม ๑๐ แห่ง มีพระสงฆ์ราว ๑,๐๐๐ รูป สังกัดนิกายหินยาน นอกนั้นยังมีสถูป ๒๐๐ เฉี๊ยะ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ด้วยมีพระราชาพระนามว่าพระกุมารราชาปกครองเมืองนี้
นอกจากนั้นท่านพระถังซัมจั๋งยังได้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทากับพระอาจารย์ศีลภัทรองค์อธิการบดี เป็นเวลาถึง ๑๕ ปี ที่นี่มีนักศึกษาราวหมื่นรูป อาจารย์พันห้าร้อยท่าน แต่ที่ได้รับยกย่องและดูแลอย่างดีมีเพียง ๑๐ รูปเท่านั้น อารามนาลันทาได้ถูกสร้างและต่อเติมมาโดยลำดับนับจาก พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าศักราทิตย์ พระเจ้าพุทธคุปตะ พระเจ้าตถาคตราชาพระเจ้าพาลาทิตย์ พระเจ้าวชิรราชา รวม ๖ พระองค์ นาลันทา เป็นสถานศึกษาฝ่ายมหายาน โดยศึกษาทั้ง ๑๘ นิกาย รวมทั้งพระเวท เหตุวิทยา ศัพทวิทยาจิกิตสาวิทยา สางขยะวิทยา เป็นต้น
มาถึงสมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะมหาวิทยาลัยก็ได้รับการอุปถัมภ์เป็นอย่างดี ในที่สุด พระถังซัมจั๋งก็อำลาพระเจ้าหรรษวรรธนะ พระกุมารราชาแห่งเบงกอลตะวันออก และพระราชาแห่งอินเดีย ๑๘ แคว้น กลับสู่ประเทศจีน โดยกลับไปเส้นทางเดิม เมื่อเข้าสู่จีนแล้วได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระสงฆ์และพุทธบริษัทชาวจีนที่ทราบข่าว ท่านได้รับการยกโทษที่แอบเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษแห่งชาติ ผลงานการแปลของท่านมีมากายที่สำคัญได้แปลหนังสือสันสกฤตออกเป็นภาษาจีนถึง ๖๐๐ เล่ม ท่านขอร้องพระจักรพรรดิ์ให้ยกพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจีนเดี่ยว ๆ แทนขงจื้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะจีนนับถือขงจื้อมายาวนาน การที่จะยกเลิกจึงเป็นเรื่องลำบาก แม้แต่พระจักรพรรดิ์ก็ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเสนาอำมาตย์ขุนศึกจำนวนไม่น้อยที่นับถือลัทธิขงจื้อ แม้แต่บิดาของท่านเมื่อก่อนก็นับถือขงจื้อ
เมื่อท่านมรณภาพแล้ว พระจักรพรรดิ์ถังเกาจง ทรงกำสรวญอย่างหนัก ถึงกลับตรัสว่า ประทีปของชาติได้ดับเสียแล้ว แม้ท่านจะกำชับให้ทำงานศพอย่างง่าย ๆ คือใช้เสื่อมาพันและฝังเสีย แต่พระจักรพรรคดิ์ก็ทำอย่างสมเกียรติกล่าวกันว่า มีชาวจีนมาร่วมงานศพท่านถึง ๒ ล้านคน นับว่าเป็นพระสงฆ์องค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่มีผู้ร่วมงานมากมายขนาดนั้น
หลังจากพระเจ้าหรรษวรรธนะเสด็จสวรรคตแล้ว อินเดียก็เข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง ทั้งทางการเมืองและการศาสนา ในยุคนี้มหายานได้ผสมลัทธิตันตระของฮินดูเข้าไปด้วยเรียกว่าพุทธตันตระ โดยมีหลัการ ๕ ม. คือ ๑. มัสยากินเนื้อปลา ๒. มางสะรับประทานเนื้อ ๓.เมรัย ดื่มสุรา ของเมา ๔. มุทระร่ายรำเพื่อยั่วกามารมณ์ ๕.เมถุนะ ร่วมเพศ ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมเพศได้ เช่น มารดากับบุตร หรือบุตรกับมารดา พี่กับน้องเป็นต้น สาเหตุที่มหายานนำลัทธิตันตระของฮินดูมาใช้ เพราะต้องการสร้างความนิยมให้กับตัวเอง แต่การพัฒนานี้เท่ากับกำลังทำลายพุทธศาสนาในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปโอบด้วยนางตาราในท่าเสพเมถุน เป็นต้น
สรุปได้ว่าสมัยนี้ มีบุคคลสำคัญที่เป็นประโยชน์ ต่อพุทธศาสนาคือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ หรือพระเจ้าศรีลาทิตย์ และพระอาจารย์เฮี่ยนจัง หรือพระถังซัมจั๋ง แต่เมื่อสิ้นบุคคลนี้แล้วพุทธศาสนา ก็เสื่อมลงอีก ต่อมายุคนี้ก็ได้มีพระสงฆ์จีน เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาก็เสื่อมลงอีก ต่อมายุคนี้ก็ได้มี พระสงฆ์จีนเดินทางมาศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดียอีกท่านหนึ่งคือ พระอาจารย์อี้จิง (I-Tsing)

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย เขียนและรวบรวมโดยพระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๙ ,
http://www.dhammathai.org/buddhism/india/index.php,7/กันยายน/2554.
ประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จิตติเทพ เว็บบล็อก